วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

รักตัวเอง



ความจริงแล้ว . . . การรักตัวเอง
..................ไม่ยากเลย..................







ถ้ายังไขว่คว้าหารัก
แต่ยังไม่พบเจอคนที่รักเราจริง ก็อย่าฝืนที่จะรัก

. . . เดี๋ยวจะเสียใจทีหลังถ้าเสียใจ ก็ขอให้คิดถึงตัวเองให้มากๆแล้วบางทีสิ่งดีๆ . . .

ก็อาจรอเราอยู่ในวันข้างหน้า



แต่กับคนที่เรารักเขา . . .

แล้วเขาไม่รักเราไม่เคยจะมองเห็น

แม้แต่คุณค่า ในตัวเราต่อให้เรา หยิบยื่นสิ่งดีๆ ให้เขาเพียงไหนหรือให้เหตุผลมากมาย

. . ในคำว่า รักที่เรามีให้เขาก็คง มองไม่เห็นมันเหมือนกัน..

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552

ทายนิสัย

ทายนิสัย : ทายนิสัยจากวิชาที่ชอบ



คณิตศาสตร์ คนที่ชอบวิชานี้ มักเป็นคนละเอียดถี่ถ้วน มีความคิดไกล บางคนเห็นเฉย ๆ น่ะ ที่จริงก็น่าดูเหมือนกัน เพราะพวกนี้ไม่ชอบแสดงออกเท่าไหร่ แต่ถ้าแสดงออกมาแต่ละที คนรอบข้างเซอร์ไพรส์แน่

วิทยาศาสตร์ เป็นคนมีเหตุผล ไม่ชอบพูดเรื่องไร้สาระ ชอบฟังมากกว่าพูด ไม่เหมือนกับพวกหัวศิลปะ เพราะว่ามีจิตใจเข้มแข็ง ไม่ชอบจุ้นจ้านวุ่นวายกับใคร

ภาษาอังกฤษ เป็นคนสดใส ร่าเริงได้ทั้งวัน ชอบชีวิตอิสระ ไม่ชอบง้อใคร เป็นคนเปิดเผย ตรงไปตรงมาดี แต่ใครที่ชอบวิชานี้นะ น้อยใจเก่งเป็นบ้าเลย ถ้าหน้าตาเศร้าหมองเมื่อไร แสดงว่ากำลังมีเรื่องกลุ้มใจและต้องคิดอย่างหนัก

สังคม เป็นพวกที่รักความยุติธรรม ชอบแสวงหาสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ใส่ตัวไม่ชอบคำว่าแพ้ จริงจังกับชีวิต มักจะมีอุดมคติและจุดหมายของชีวิตที่มั่นคง คนพวกนี้มักจะพูดเก่ง ไม่ชอบให้ใครมาบังคับ เวลาโมโหจะรุนแรงมาก

ภาษาไทย เป็นพวกที่มีความคิดแบบผู้ใหญ่ มักจะมองคนอื่นเด็กกว่าตัวเองอยู่เรื่อย เป็นคนเรียบร้อย มีระเบียบ ท่าทางสุภาพจนหลาย ๆ คนเกรงใจ เวลาพูดหรือเตือนอะไรใคร ก็ไม่ชอบให้เค้าเถียงหรือแซว แต่ถ้าเตือนแล้วไม่ฟัง ก็จะไม่พูดซ้ำซากอีกเลย คือตัดหางปล่อยวัดนั่นแหละ

ศิลปะ คุณน่ะอารมณ์อ่อนไหว มีจิตนาการกว้างไกล จิตใจอ่อนโยน ถ้าผู้ชายชอบวิชานี้ จะชอบผู้หญิงที่เอาใจเก่งเป็นพิเศษ ไม่ชอบคนเรื่องมาก ถ้ารักใครสักคนจะจริงใจมาก รักมั่นคงซะด้วย



ทายนิสัย : อ่านหนังสือทายนิสัย


สมมุติว่าเราหยิบหนังสือมาหนึ่งเล่ม หากเราเปิดอ่านแค่คร่าว ๆ โดยไม่ได้ใส่ใจที่จะอ่านรายละเอียดมากนัก แสดงว่าเป็นคนใจร้อน วู่วาม เวลาจะทำงานอะไรก็ จะไม่ค่อยละเอียดถี่ถ้วนนัก จะให้ความสนใจแต่เรื่องหลัก ๆ ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า นึกอยากจะทำอะไรก็จะลงมือเลยแบบตามใจตัวเองโดยไม่คิดให้รอบคอบเสียก่อน จึงมักจะมีเรื่องให้ผิดหวังอยู่เสมอ

เปิดอ่านแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ แสดงว่าเป็นคนที่มีความเป็นเด็กอยู่ในตัวสูง มักเอาแต่ใจตัวเอง นึกคิดอะไรก็ทำไปอย่างนั้น ไม่ค่อยนึกถึงจิตใจผู้อื่นเท่าใดนัก แต่เป็นคนจิตใจดี ใจกว้าง ชอบ ช่วยเหลือผู้อื่น แต่ด้วยความที่เป็นคนไม่ค่อยมีมนุษยสัมพันธ์เลยทำให้ไม่ค่อยมีคนกล้าเข้าใกล้หรือกล้าเข้ามาทำความรู้จักด้วย

ชอบอ่านทุกหน้าและทุกเรื่อง จะเป็นคนใจกว้าง ยอมรับความคิดหรือสิ่งใหม่ ๆ ได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นความคิดของใครก็ตาม เป็นคนที่ให้โอกาสคนอื่นสูง ความสนใจใคร่รู้ในสิ่งต่าง ๆ และทันเหตุการณ์และหากสนใจในเรื่องใด ก็มักจะทุ่มเทให้กับเรื่องนั้นเพื่อให้รู้จริง มีความคิดกว้างไกลมากและมักจะได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง

ชอบออกเสียงเวลาอ่านหนังสือ แสดงให้เห็นถึงการมีใจคอเปิดเผยจริงใจและซื่อสัตย์ต่อทุกคนที่คบด้วยและเป็น คนไว้ใจได้ไม่ค่อยมีพิษมีภัยกับใคร เป็น คนรักสงบ มีชีวิตเรียบง่าย สมถะ รักธรรมชาติ ถึงแม้จะไม่ใช่คนมีภูมิความรู้อะไรมากนักแต่ก็มีความน่านับถืออยู่ในตัว มีโลกส่วนตัวและมีโลกในอุดมคติของตัวเอง

ชอบขีดเส้นข้อความสำคัญเวลาอ่านหนังสือ อุปนิสัยเป็นคนช่างจดจำและค่อนข้างยึดมั่นในตัวเอง สิ่งไหนที่เป็นของตนเองก็ไม่อยากให้ใครมาแย่งไป แต่ก็เป็นคนทำงานเก่งและทำได้ดี เพราะเวลาทำงานมักจะทำอย่างจริงจัง และไม่ชอบเสียเวลากับเรื่องไร้สาระ

ชอบพับขอบหนังสือ เวลาอ่านหนังสือค้างไว้มักจะใช้วิธีพับขอบแทนการใช้ที่คั่นหนังสือ แสดงว่าเป็นคนไม่ค่อยเรียบร้อยนัก แต่เมื่อได้ลงมือทำอะไรก็มักจะทำอย่างจริงจัง หมกมุ่นจนทำสำเร็จ ไม่ค่อยใส่ใจคนรอบข้างนัก ดูเหมือนเป็นคนเห็นแก่ตัวแต่ที่จริงเค้าไม่เก่งเรื่องโฆษณาประชาสัมพันธ์ตัวเองซะมากกว่า ยิ่งเวลามีคนมาขอความช่วยเหลือเค้าก็จะพร้อมจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่






วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์
ความหมาย ราชาศัพท์แปลตามศัพท์ว่า ศัพท์หรือถ้อยคำสำหรับพระราชา แต่สำหรับการนำมาใช้ในวิชาภาษาไทยนั้น หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้เหมาะสมกับบุคคลทั่วไปซึ่งจัดว่าเป็นคำสุภาพในการสื่อสาร หรือหมายถึง การใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล


การใช้ถ้อยคำถูกต้องตามฐานะของบุคคล มี ๕ ชั้น ดังนี้
๑. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี
๒. พระบรมวงศานุวงศ์ (เจ้านาย)
๓. พระภิกษุสงฆ์
๔. ข้าราชการ
๕. สุภาพชนทั่วไป


ราชาศัพท์ที่ใช้ในปัจจุบัน มี ๒ ทาง คือ
๑. การรับคำมาจากภาษาอื่น
เพราะพระเจ้าแผ่นดินเราดั้งเดิมนิยมใช้ถ้อยคำธรรมดา เช่น หลักฐานจากศิลาจารึก ต่อมาเรารับแบบอย่างจากราชสำนักเขมรมาใช้ มีพราหมณ์ปุโรหิตาจารย์เข้ามาประกอบพิธี พร้อมกันนั้นก็เอาขนบธรรมเนียมประเพณีอินเดียมาใช้ จึงทำให้มีคำว่าราชาศัพท์เป็นคำบาลีสันสกฤตและเขมร


คำราชาศัพท์ที่มาจากภาษาบาลี

พระอัยกา ปู่ - ย่า
พระยะกนะ ตับ
พระขนง คิ้ว

คำราชาศัพท์ที่มาจากภาษาเขมร

พระแกล หน้าต่าง
พระกัมโบล แก้ม
พระขนง คิ้ว

คำราชาศัพท์ที่มาจากภาษาอื่นนั้นมีบ้างไม่มากนัก เช่น พระสุหร่าย จากภาษาเปอร์เชียร์ พระเก้าอี้ จากภาษาจีนเป็นต้น

๒. การสร้างคำใหม่
การสร้างคำใหม่เป็นราชาศัพท์ ใช้วิธีประสมให้คำมีทั้งการนำคำไทยด้วยกันมาประสมกับคำไทยและประสมกับคำภาษาอื่น หรือนำภาษาอื่นมาประสมกับ หรือปรุงแต่งคำให้ดู เป็นพิเศษขึ้นมา ยกตัวอย่างดังนี้

ก. คำไทยประสมกับคำไทย เช่น
ห้องเครื่อง - ครัว ทรงเครื่องใหญ่- ตัดผม

ข. คำไทยประสมกับภาษาอื่น เช่น
ขันพระพักตร์ - ผ้าเช็ดหน้า เส้นพระเจ้า - เส้นผม

ค. ประสมคำอื่นกับคำอื่นด้วยกัน เช่น
พระพักตร์ - หน้า พระโอสถประจุ - ยาถ่าย

วิธีการใช้ราชาศัพท์ที่ควรสังเกต
๑. การใช้คำ "ทรง" มีหลัก ๒ ประการดังต่อไปนี้
ก. ใช้ทรงนำหน้ากริยาสามัญบางคำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น
ทรงเจิม ทรงออกกำลัง ทรงวิ่ง
ข. ใช้ทรงนำหน้าคำนามสามัญบางคำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น
ทรงดนตรี- เล่นดนตรี ทรงเครื่อง- แต่งตัว

ค. ใช้ทรงนำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำเป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น
ทรงพระอักษร - เขียนอ่าน ทรงพระดำเนิน- เดิน

๒. การใช้คำ "พระบรม" "พระราชา" "พระ"
ก. คำ "พระบรม" ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น เช่น

พระบรมวงศานุวงศ์ พระบรมเดชานุภาพ
ข. คำ "พระราช" ใช้ได้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระอุปราช เช่น
พระราชปฏิสันถาร- คำทักทาย พระราชประวัติ- ประวัติ

ค. คำว่า "พระ" ใช้นำหน้าคำที่เรียกอวัยวะ เครื่องใช้ หรือใช้นำหน้าคำนามสามัญ ที่ ไม่มีราชาศัพท์ใช้ เช่น
พระหัตถ์ - มือ พระภูษา - ผ้านุ่ง

๓. การใช้คำราชาศัพท์ ในคำขึ้นต้นและคำลงท้าย
ก. "ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า"
ลงท้าย "ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ" ใช้ในโอกาสกราบบังคมทูลขึ้น
ก่อนเป็นครั้งแรก

ข. "พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า..."
ลงท้าย "ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม..." ใช้ในโอกาสที่มีพระราชดำรัสขึ้นก่อน

๔. การใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามสำนวนไทย
คำว่า "ถวายการต้อนรับ" "ถวายความจงรักภักดี" คำนี้ใช้ผิดกันมาก คำที่ถูกคือ "เฝ้ารับเสด็จ" หรือ "รับเสด็จ" "มีความจงรักภักดี" หรือ "จงรักภักดี"

๕. การใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามเหตุผล
ก. "พระราชอาคันตุกะ" กับ "อาตันตุกะ" แปลว่าแขกที่มาเยือน ถ้าเป็นแขกของพระมหากษัตริย์ใช้ "ราช" นำหน้า ถ้าไม่ใช่แขกของพระมหากษัตริย์ไม่ต้องใช้"ราช" เช่น
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชอาคันตุกะของสมเด็จ พระราชินีอลิซาเบธ
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นอาคันตุกะของประธานาธิบดี"

การใช้ราชาศัพท์สำหรับสมเด็จพระศรีนครินทราราชชนนี
ราชาศัพท์ทั่วไปเหมือนสมเด็จพระราชินี
คำขึ้นต้น ขอพระราชทานกราบบังคมทูลฝ่าละอองธุลีพระบาท
คำลงท้าย ควรมิควรสุดแล้วแต่จะกรุณาโปรดเกล้าฯ
สรรพนามแทนผู้พูด ใช้ข้าพระพุทธเจ้า
สรรพนามแทนพระองค์ ใช้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท




วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

แนะนำตัว



ชื่อ นางสาวพัชรี หัดเจริญ

ชื่อเล่น ยุ้ย

เกิด วันพฤหัสบดี ที่ 13 เมษายน 2532

การศึกษา สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์

นิสัย สนุกสนาน สดใสร่าเริง มีมนุษยสัมพันธ์

ที่อยู่ จังหวัดปราจีนบุรี

สีที่ชอบ ฟ้า/ชมพู/ม่วงอ่อน

อาหารที่ชอบ ผัดผัก

งานอดิเรก ฟังเพลง/นั่งคุยกับเพื่อนๆค่ะ

คติ ความพยายามครั้งที่100ดีกว่าคิดท้อถอยก่อนที่จะทำ